บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

เดจาวู เดฌา-วูว์


คำว่า “เดจาวู” วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรีให้ความหมายไว้ว่า

เดฌา-วูว์ (ฝรั่งเศส: déjà-vu, แปลตรงตัวว่า "เคยเห็นแล้ว") เป็นคำที่เอมีล บัวรัก (Emile Boirac) ใช้ในหนังสือ ลาเวอนีร์ เดซี ย็องส์ ฟีซิกส์ (L'Avenir des sciences psychiques) เป็นคนแรก

หมายความถึง อาการที่รู้สึกว่า เหตุการณ์ที่เพิ่งพบเจอนั้นคลับคล้ายคลับคลาว่า เคยพบเจอมาแล้ว เป็นประสบการณ์ทางจิต เกิดได้กับทุกคนและทุกเวลา ไม่ว่าหลับหรือตื่น

จะเห็นว่า “เดจาวู” นั้น เป็นปรากฏการณ์ในทางวิทยาศาสตร์ เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน  แต่วิทยาศาสตร์อธิบายไม่ได้ว่า ที่มาที่ไปของเดจาวูนั้นมาอย่างไป

ตัวผมเองก็เกิดเหตุการณ์เดจาวูบ่อยมาก ตั้งแต่เป็นเด็กมาแล้ว  จึงเข้าใจปรากฏการณ์นี้ ได้เป็นอย่างดี และสงสัยมาโดยตลอดว่า “มันเกิดขึ้นได้อย่างไร”

ตอนนี้ ผมรู้ที่มาที่ไปของเหตุการณ์นี้แล้ว ด้วยวิชาธรรมกาย  แต่ขอยกข้อเขียนของแหล่งอื่นๆ ขึ้นก่อน เพื่อดูว่า นักเขียนท่านอื่นๆ มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเดจาวูอย่างไรบ้าง

บทความเรื่อง “เดจาวู ความรู้สึกพิศวง ปรากฏการณ์ทางจิตที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้” เขียนไว้ดังนี้



Dejavu มาจากคำว่า déjà vu  ซึ่งเป็นคำภาษาฝรั่งเศส ถ้าแปลตามตัวก็จะแปลว่า เคยเห็น/เคยรู้สึกมาแล้ว

เป็นคำอธิบายปรากฏการณ์ทางจิตและความรู้สึกของมนุษย์ ที่คนๆ นึง เมื่อมาอยู่ในสถานหรืออยู่ในเหตุการณ์นึงเป็นครั้งแรกในชีวิต แต่กลับรู้สึกคุ้นกับเหตุการณ์นี้มาก คล้ายกับว่ามันเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเป็นความจริงหรือความฝัน!!

ความรู้สึกนี้จะแตกต่างจากลางสังหรณ์ อยู่นิดหน่อย พูดง่ายๆ ก็คือ ลางสังหรณ์เราจะรู้ว่ามันจะเกิดขึ้น (มีทั้งลางดีและไม่ดี) ซึ่งถ้าเป็นลางไม่ดี เราก็จะหาทางแก้ไขได้

เช่น ฝันว่าเพื่อนกำลังข้ามถนนเข้าโรงเรียน จู่ๆ ก็มีรถสีขาวขับมาด้วยความเร็วสูงขับชน พอมาเจอสถานการณ์จริงๆ เหมือนในฝัน เราเห็นรถสีขาวขับมาอย่างเร็ว เราจะคุ้นมันมาก

เราก็จะห้ามเพื่อนได้ว่าอย่าเพิ่งข้าม เพราะเรารู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นจึงเตือน เพื่อนก็จะรอดจากรถชน

ส่วนเดจาวูเราจะตรงกันข้ามตรงที่ เราอยู่ในเหตุการณ์หนึ่ง แต่เรากลับสะดุ้งโหยง เพราะรู้สึกว่าเหตุการณ์นี้มันเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต และทุกอย่างที่เป็นองค์ประกอบ ทั้งคน สถานที่ สิ่งของ เหมือนกันหมด

ซึ่งบางครั้งก็สามารถคาดเดาอนาคตต่อไปได้ด้วย แต่ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นแป๊บเดียว ประมาณ 5-10 วินาที แล้วก็หายไปให้เรางงเล่นๆ ซึ่งจากการสำรวจจากต่างประเทศ พบว่าจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 15 - 25 ปี

ซึ่งจุดสำคัญของเดจาวู ก็คือ เรื่องที่เรารู้สึกว่าเคยเกิดขึ้นมาแล้วนั้นมันเป็นเรื่องธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน แต่กลับมีรายละเอียดที่ไม่น่าเชื่อมาเชื่อมโยงกัน

เช่น จำได้ว่าเหตุการณ์มีใคร กำลังทำอะไรอยู่บ้าง อยู่ตรงไหน ซึ่งจำได้แม้กระทั่งคำพูดหรือการแสดงออกของคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น เช่น กำลังนั่งกินข้าวกับเพื่อนที่ห้างหลังเรียนพิเศษและกำลังวิจารณ์อาหารร้านนั้นอย่างเมามันส์ว่า ร้านนี้อาหารไม่อร่อยเลย

จังหวะนั้นอยู่ดีๆ ก็มีความรู้สึกว่า เอ๊ะ! เหตุการณ์นี้คุ้นๆ แฮะ เหมือนเราเคยมานั่งร้านนี้ กับเพื่อนกลุ่มนี้ มากินที่ห้างนี้ ตอนหลังเลิกเรียนและกำลังพูดวิจารณ์รสชาติอาหารนี้อยู่ด้วย

โอ้ว..อัศจรรย์มากๆ แต่มันน่าอัศจรรย์กว่านั้นตรงที่ว่าเราเคยมากินร้านนี้ครั้งแรก!!

ดร. เวอร์นอน เอ็ม เนปเป (Dr. Vernon M. Neppe) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเดจาวู ได้แบ่งประสบการณ์เดจาวูออกเป็นถึง 21 แบบ ตัวอย่างเช่น

déjà senti (already felt) = เคยรู้สึกเช่นนี้มาแล้ว
déjà entendu (already heard) = เคยได้ยินมาแล้ว
déjà eprouvè (already experienced) = เคยมีประสบการณ์มาแล้ว
déjà rencontrè (already met) = เคยเจอคนนี้มาแล้ว)

โดยความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถูกมองว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงานของสมองและระบบประสาท ทางการแพทย์เรียกว่า การไหลของคลื่นกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดการผิดปกติ

โดยปกติ เมื่อสมองรับภาพมาจากประสาทตา ก็จะนำมาแปลผล ทำให้รู้ว่าภาพหรือเหตุการณ์ที่เราเห็น มันคืออะไร โดยข้อมูลจากประสาทตาซ้ายจะเข้าสมองซีกขวา ประสาทตาขวาเข้าสมองซีกซ้าย เรียกว่าทั้งสมองทั้งสองต้องทำงานร่วมกันอย่างสามัคคี

แต่ถ้าสมองข้างนึงเกิดส่งข้อมูลมาช้าไปนิดเดียว ก็จะแปลความหมายของภาพนั้นว่า เป็นภาพจากความจำ จึงรูสึกว่าเคยเจอเหตุการณ์นี้มาก่อน แต่จำเวลาไมได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่

แต่ความจริงแล้วเป็นแค่ความคิดที่คิดไปเองว่าเคยเกิดขึ้น แต่จริงๆ แล้วไม่เคยเกิดขึ้นมานั่นเอง

จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายเหตุการณ์ Dejavu ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เช่น เกิดจากระบบความจำส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดึงข้อมูลออกมาใช้ไม่ทำงาน แต่ส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความคุ้นเคยทำงานผิดปกติ

แต่ความคิดนี้ก็ถูกแย้งแล้วมองว่า ระบบทั้งสองน่าจะทำงานไม่พร้อมกันมากกว่า หรือแม้แต่ซิกมันด์ ฟรอยด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ยังโยงไปถึงจิตวิทยาได้ว่า เกิดจากการนึกถึงภาพหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงที่เราขาดสติ

ทำให้รายละเอียดของภาพจึงไม่ชัด แต่ว่าเราจะมีความรู้สึกคุ้นเคยออกมา กลายเป็นเดจาวูนั่นเอง

สำหรับในทางวิชาธรรมกายแล้ว มีหลักการอธิบายดังนี้

กายของมนุษย์มีกายหลักๆ 18 กาย  ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็คือ กายมนุษย์หยาบหรือกายเนื้อของเรา กับกายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝันของเรา

กายแต่ละกายของเรานั้น มีขันธ์ 5 เป็นของตัวเองทั้งหมด  ดังนั้น กายทั้ง 18 กายของเรา สามารถ “คุย” กันได้ ปรึกษากันได้

แต่ละกายจะมีความสามารถแตกต่างกัน  กายที่เป็นกายโลกีย์ จะมีหน้าตาเหมือนกัน แตกต่างกันที่เครื่องแต่งกาย  

สำหรับกายธรรมของทุกคนจะเหมือนกัน คือ เหมือนกันทั้งโลกเลย  แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดกับความใสสว่างของกาย

ถ้ามีคำถามว่า เมื่อเห็นกายธรรม แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นกายธรรมของใคร 

คำตอบก็คือ ให้ดูกายโลกีย์ของเขา ก็จะรู้ว่าเป็นใคร

กลับมาเข้าเรื่อง “เดจาวู” กายฝันของเรานั้น  เขาก็ทำหน้าที่ของเขาไป ไปเที่ยว ไปทำอะไรต่อมิอะไร

บางที เมื่อกายฝันไปไหน กายมนุษย์หยาบก็รู้ด้วย คือ ฝันไป   ดังนั้น เหตุการณ์ตรงนี้กายเนื้อก็รู้ กายฝันก็รู้

แต่บางทีกายฝันไป แต่กายเนื้อไม่รู้  เมื่อกายมนุษย์ไปพบเหตุการณ์นั้นเข้าอีกครั้งหนึ่ง จึงเกิดปรากฎการณ์ “เดจาวู” ขึ้น

กายฝันของเรานั้น สามารถรู้อดีต รู้อนาคตได้ ดังนั้น ปรากฏการณ์ “เดจาวู” จึงอาจจะเกี่ยวข้องไปในอนาคตได้




2 ความคิดเห็น:

  1. คือกายฝันข้ามเวลาไปอนาคตก่อนกายมนุษย์ ทีนี้พอกายมนุษย์ไปยังเหตุการณ์ที่กายฝันเคยไป ก็เลยรู้สึกว่ามันคุ้น
    ผมเข้าใจถูกไหมครับ

    ผมล่ะไม่ค่อยพอใจคำตอบของนักวิชาการในเรื่องนี้สักเท่าใด คือโยนไปว่า คิดไปเอง หรือเกิดจากการจัดลำดับข้อมูลผิดของสมอง

    ตอบลบ