ทำไม..เสียงเพลงจึงมีอิทธิพลต่อต้นไม้...
ปัจจุบันนี้... ความรู้ที่ว่า การเปิดเพลงให้ต้นไม้ฟัง จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตดีนั้น เป็นเรื่องความรู้โดยทั่วไปแล้ว คือ ไม่มีใครมาสงสัยแล้วว่า "เป็นจริงหรือไม่"
ผมขอยกตัวอย่างผลงานของหนังสือ "The Sound of Music and Plant ( เสียงดนตรีและพืช)" ของ โดโรธี รีแทลเแลค เพื่อเป็นตัวอย่างก่อนที่จะเสนอประเด็นต่อไป ดังนี้
*-------*
ในปี พ.ศ. 2516 โดโรธี รีแทลเแลค ได้พิมพ์หนังสือชื่อ The Sound of Music and Plant ( เสียงดนตรีและพืช) โดยเล่ารายละเอียดในการทดลองของเธอซึ่งทำที่วิทยาลัย Woman’s College ในเดนเวอร์ให้ฟังว่า
เธอได้นำพืชไปไว้ในห้องทำการทดลอง โดยวางพืชแยกไว้ในห้องต่างๆ กัน ซึ่งทุกห้องมีลำโพงสำหรับให้เธอปล่อยเสียงเข้าไปได้ ต้นไม้ในแต่ละห้องจะได้เสียงเพลงต่างกัน
เธอเฝ้าดูการทดลองและจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน โดโรธีได้พบผลการทดลองอันน่าทึ่งดังนี้
การทดลองที่หนึ่ง........
เธอเปิดเพลงที่มีจังหวะคงที่ให้ต้นไม้ในห้องทดลองทั้งสามฟัง ห้องแรกเธอเปิดเพลงให้ฟังติดต่อกัน 8 ชั่วโมง ห้องที่สองเปิดให้ฟัง 3 ชั่วโมง ห้องที่สามไม่เปิดเสียงใดๆเลย
ผลการทดลองปรากฏว่า....... ต้นไม้ทุกต้นที่อยู่กับเพลงนานติดต่อกัน 8 ชั่วโมง โทรมและตายภายใน 14 วัน
ส่วนต้นไม้ทุกต้นที่อยู่กับเพลงเพียงวันละ 3 ชั่วโมง เจริญเติบโตสมบูรณ์ดี ยิ่งกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้รับเสียงอะไรเลย
จากการทดลองของคุณโดโรธีทำให้ทราบว่า.... เสียงมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะคนหรือพืช หรือแม้แต่สัตว์
*-------*
จากผลการทดลองดังกล่าว......
มีปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วนักวิจัยไม่ยอมเอ่ยถึงคือ "ทำไม จึงเป็นเช่นนั้น"
กล่าวคือ นักวิทยาศาสตร์ "รู้" ว่า ดนตรีมีอิทธิพลต่อต้นไม้ แต่ไม่รู้ "ทำไม" จึงเป็นเช่นนั้น
ตามสำนวนของไอน์สไตน์ก็คือ ใครๆ ก็ "รู้" ได้ สำคัญที่ว่า "เข้าใจ" หรือเปล่า
ในทางวิชาธรรมกายมีคำอธิบายดังนี้........
ในทุกๆ อะตอมจะมี "เห็น จำ คิด รู้" ประกอบอยู่ด้วย เช่นเดียวกับ อิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน
การที่มีเห็น จำ คิด รู้อยู่ด้วย ต้นไม้จึงรับอิทธิพลจากเสียงดนตรีได้ เช่นเดียวกับมนุษย์ แต่เมื่อมี เห็น จำ คิด รู้น้อยกว่า ก็จึงรับได้น้อยกว่า
หิน ดิน น้ำ ของธรรมชาติทุกประการที่ประกอบด้วยอะตอม ก็จะมีเห็น จำ คิด รู้อยู่ด้วยกันทั้งหมด จะมากหรือน้อยต่างกันเท่านั้น
เท่าที่มีความรู้มา ของที่ไหลได้ เช่น น้ำ จะมี เห็น จำ คิด รู้มากกว่า หิน
ตรงนี้ ขอให้เปรียบเทียบองค์ความรู้ของวิชาธรรมกายกับสายปฏิบัติธรรมอื่น รวมถึง นักปริยัติ นักวิชาการทั้งหลายด้วย
ถามว่า... เปรียบเทียบไปทำไม?
มีนักปรัชญามองว่า.... สายปฏิบัติธรรมต่างๆ นั้น เหมือน "เครื่องมือ" ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพาน
ผมฟังใหม่ๆ ผมก็ว่า "มันแปลกๆ" แต่จะว่าไป มันก็แนวคิดที่ดีเหมือนกัน สามารถอธิบาอะไรบ้างอย่างได้
เมื่อมองว่า "สายปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องมือในการทำให้บรรลุมรรคผลนิพพาน" เราก็มาดูกันว่า "สายปฏิบัติธรรมใดมีระสิทธิภาพสูง
จะเห็นว่า....
วิชาธรรมกายมีอำนาจในการอธิบายสูงมาก.... ยกตัวอย่างเช่น...
[1].. ผีเข้า ทางเจ้าเข้าผี ผีอำ เราก็รู้ว่า "ผี" มันอย่างไร เราจะป้องกันอย่างไร
[2].. มีคนเห็นว่า "ใครไม่มีหัว" หรือ "หัวไม่มี" เราก็รู้ และช่วยได้ ช่วยมาได้หลายคนแล้ว
[3].. สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือจักรพรรดินั้น ศักดิ์สิทธิ์อย่างไร ทำไม จึงศักดิ์สิทธิ์ เราก็อธิบายได้
[4].. คนเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ในทางกายนั้น แพทย์แผนปัจจุบันอธิบายได้ แต่ในทาง "ใจ" แพทย์แผนปัจจุบันอธิบายไม่ได้ แต่วิชาธรรมกายอธิบายได้
อยากจะเรียนวิชาธรรมกาย ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงระดับสูง ก็ขอให้มาเรียนวิชาธรรมกายกับเรา
ท่านจะได้รับความรู้ที่ละเอียด ลึกซึ้ง ที่ไม่มีใครอธิบายได้ดีอย่างนี้อีกแล้ว.....
ตรงนี้ ขอย้ำว่า..... ที่ยังมีชีวิตกันอยู่.... ที่ตายไปแล้ว หรือมรณภาพไปแล้ว ไม่ได้นับด้วย
-------------------------
เขียนโดย ดร. มนัส โกมลฑา Ph.D. (สหวิทยาการ)
www.manaskomoltha.net
Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/manas4299/
Line ID : manas4299
Youtube: https://www.youtube.com/user/mommeam4299/